พระพิมพ์เม็ดกระดุมศรีวิชัย อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี No.0092
|
||||||||||||||||
![]() ![]() ![]() |
||||||||||||||||
![]() ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
สมเด็จพุทธคุณ | |||||||||||||||
โดย
|
รุ่งหลักร้อย | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระเนื้อผง | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
พระพิมพ์เม็ดกระดุมศรีวิชัย อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี No.0092 |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
พระพิมพ์เม็ดกระดุมศรีวิชัย อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ‘พระพิมพ์ดินดิบศิลปกรรมแห่งศรีวิชัย’ ศิลปะของอาณาจักรศรีวิชัยนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะ หลังคุปตะ และปาละ-เสนะ ตามลำดับ และได้มีการค้นพบศิลปกรรมต่างๆ ในภาคใต้ของประเทสไทย ซึ่งส่วนใหญ่สลักจากศิลา หรือหล่อด้วยสัมฤทธิ์ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งสลักจากศิลา และค้นพบที่ไชยานั้น เป็นโบราณวัตถุที่มีความเก่ากว่าชิ้นอื่นๆ ที่ค้นพบ และมีศิลปะอินเดียแบบคุปตะ และหลังคุปตะปะปนอยู่มาก นอกจากนั้นยังค้นพบเทวรูปสำคัญๆ ประติมากรรมพระนารายณ์สวมหมวกแขก ซึ่งเป็นศิลปกรรมในศาสนาพราหมณ์ ห้วงระยะเวลาที่อาณาจักรศรีวิชัยมีอำนาจอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘ มีการค้นพบโบราณวัตถุและโบราณสถาน ทั้งด้านประติมากรรม และสถาปัตยกรรมในศิลปะศรีวิชัยในบริเวณภาคใต้ของประเทศไทยเป็นอันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อำเภอไชยา กล่าวสำหรับศูนบ์กลางของอาณาจักรแห่งนี้ เป็นที่ถกเถียงกันว่า จะมีราชธานีที่เมืองปาเล็มบังในเกาะสุมาตรา หรือที่อำเภอไชยากันแน่ แต่จากหลักฐานทางสถาปัตยกรรมจะพบที่อำเภอไชยาเป็นอย่างมาก จนกล่าวได้ว่า ไชยานั้นต้องเป็นเมืองโบราณที่สำคัญในสมัยศรีวิชัย จนอาจเป็นศูนย์กลางแห่งราชธานีเลยทีเดียว ยังมีการค้นพบพระพิมพ์ดินดิบ อันเป็นการสร้างด้วยประเพณีความเชื่อทางมหายาน มากกว่าที่จะสร้างขึ้นไว้เพื่อการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาเช่นเถรวาท เช่น พระพิมพ์ดินเผา หรือพระพิมพ์เนื้อโลหะ ที่มีการสร้างมาแต่โบราณเช่นเดียวกัน การสร้างพระพิมพืดินดิบตามลัทธิมหายานนี้ จะมีการนำเถ้าอัฐิของพระสงฆ์เถระที่มรณภาพแล้ว มาป่นคลุกเคล้ากับดิน แล้วพิมพ์เป็นพระพุทธรูป หรือพระโพธิสัตว์ ไว้เป็นมรมัตถประโยชน์ของผู้มรณภาพ และจะไม่ทำการเผาพระพิมพ์อีก เนื่องจากได้เผาอัฐิมาแล้วครั้งหนึ่ง หากเผาอีกจึงเท่ากับเป็นการตายครั้งที่ ๒ นั้นเอง พระพิมพ์ดินดิบนี้มีการค้นพบตามถ้ำต่างๆ แต่จะไม่มีการค้นพบแถบตอนใต้ หรือเกาะสุมาตรา อันเป็นที่ตั้งของเมืองปาเล็มบังแต่ประการใด นอกจากตอนเหนือของแหลมมลายู เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ชาวบ้านได้ขุดค้นหาลูกปัด และได้พบพระพิมพ์ขึ้นมาด้วย โดยมีลักษณะเป็นทรงกลม ด้านหน้าจะบุ๋มลงไปจากขอบพระ และปรากฏเป็นรูปองค์พระ และรายละเอียดต่างๆ ส่วนด้านหลังจะอูมนูน อันเป็นลักษณะที่คล้ายกับเม็ดกระดุมเสื้อสตรีเป็นอันมาก เพียงแต่กลับด้านกันเท่านั้น จึงเป็นจุดที่ใช้ในการเรียกขานพิมพ์ทรง หากแต่บางท่านก็เรียก ‘พระซุ้มศรีวิชัย’ ด้วยเหตุที่ขอบด้านหน้าอันเป็นส่วนคล้ายขอบซุ้ม ก่อนหน้านี้ในราวปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้มีการค้นพบพระพิมพ์เนื้อดินทรงกลมครึ่งซีก แต่ไม่มากนักประมาณไม่เกิน ๑๐๐ องค์ ที่บริเวณเนินจอมปลวก บริเวณบ้านของนางอารีย์ เรืองเจริญ ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ของวัดเขาศรีวิชัย ตำบลเขาศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระพิมพ์เม็ดกระดุมที่ค้นพบเมื่อราวเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ นี้ บริเวณวัดเขาศรีวิชัยเช่นเดียวกับที่พบเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ชาวบ้านขุดพบมีด้วยกัน ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์ต้อ และพิมพ์ชะลูด ๑. พิมพ์ต้อ ด้านหน้าเป็นรูปองค์พระประทับปางสมาธินูนเด่นขึ้นมาจากพื้น องค์พระลักษณะป้อมต้อคล้ายรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระพักตร์ (หน้า) ค่อนข้างจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมมนๆ พระนลาฎ (หน้าผาก) กว้าง พระเกศแบนเตี้ย ไรพระศก (ไรผม) เป็นติ่งแบนเล็กๆ เห็นพระกรรณ (หู) เป็นเส้นยาวลงจดพระอังสา (บ่า) ล้อมรอบพระเศียรด้วยเส้นประภามณฑล พระบาทขวาประทับบนพระบาทซ้าย อานสะเป็นบัวสองชั้น ชั้นบนเป็นบัวบาน ๗ กลีบ ชั้นล่างเป็นบัว ๓ กลีบ พื้นจะปรากฏอักษรปัลลวะ ภาษาสันสฤกต ขนาดองค์พระมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒ เซนติเมตร เนื้อมีลักษณะแกร่งมีสีแดงอิฐ สีพิกุล สีมอย สีขาวหม่น ๒. พิมพ์ชะลูด ด้านหน้าเป็นองค์พระประทับนั่งสมาธิ ลักษณะองค์พระนูนชะลูด พระพักตร์ (หน้า) อูมค่อนข้างกลม พระกรรณ (หู) ยาวจดพระอังสา (บ่า) พระพักตร์ (หน้า) จะยาวกว่าพิมพ์ต้อ ไรพระศกเป็นเม็ดกลม ล้อมรอบพระเศียรด้วยประภามณฑล รายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าอาสนะ หรืออักษรปัลลวะ เหมือนพิมพ์ต้อ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวปี พ.ศ. ๑๓๐๐-๑๖๐๐ หากพิจารณารูปทรงทางศิลปะแล้ว น่าเชื่อว่ามีศิลปะทวารวดีปนอยู่ อันแสดงได้ว่า เป็นการสร้างในยุคแรกๆ ที่ศิลปะทวารวดียังคงมีอิทธิพลอยู่ ด้านหลังของทั้งสองพิมพ์ หลังเรียบและอูมนูน อักษรปัลลวะที่ปรากฎบนองค์พระพิมพืเม็ดกระดุมศรีวิชัยนี้ อาจารย์ชะเอม แก้วคล้าย ผู้ชำนาญภาษาโบราณ ได้อ่านอักษรโบราณนี้แล้วกล่าวว่า อักษรที่ปรากฏเป็นอักษรปัลลวะ อันเป็นอักษรที่ใช้อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ ในสมัยทวารวดี อักษรที่ปรากฏนั้นมีใจความว่า "เย ธัมมา เหตุปปภวา เตสัง เหตุง ตถาคโต ชาติเต สัญจโย นิโรโธจะ เอวัง วาที มหาสมโณ" แปลว่า "ธรรมทั้งหลายเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคต ตรัสเหตุและความดับของธรรมทั้งหลายเหล่านั้น พระมหาสมณะ มีปกติตรัสอย่างนี้" (หากต้องการดูพระทั้งหมดในร้าน กดหน้าแรก ด้านบนเลยนะครับ) |
|||||||||||||||
ราคา
|
โทรถาม | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
0993579545 0645179964 | |||||||||||||||
ID LINE
|
- | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
4,626 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารไทยพาณิชย์ / 509-2-670xx-x
|
|||||||||||||||
|